สวัสดีครับนำทุกท่านมารู้จักบริษัทที่คนชอบมากที่นั่นเป็นบริษัทที่มีรายได้สูง เหมาะสำหรับคนที่ิ
มองหาบริษัทที่ดีเเละมีคุณภาพ สำหรับใครที่ไม่รู้จับเราจะพาทุกคนไปรู้จักกับบริษัททั้ง 50 บริษัท
ที่มีมาตรฐาน
สยามพิวรรธน์ เป็นบริษัทธุรกิจค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นเจ้าของและบริหารกิจการศูนย์การค้าชั้นนำมากมาย เช่น สยามพารากอน และ ไอคอนสยาม โดยหนึ่งในปัจจัยสู่ความสำเร็จคือ “ความร่วมมือ” ซึ่งสยามพิวรรธน์ได้ร่วมกับหลายบริษัททั้งในและนอกประเทศ เพื่อพัฒนาธุรกิจห้างสรรพสินค้า เช่น ความร่วมมือกับ Takashimaya ห้างสรรพสินค้าสัญชาติญี่ปุ่นที่มีประวัติยาวนานกว่า 189 ปี นำมาสู่การเปิดสาขาห้างสรรพสินค้า Takashimaya สาขาแรกในประเทศไทย พร้อมด้วยสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่นชั้นนำกว่า 180 แบรนด์ ซึ่งในจำนวนนี้มีถึง 80 แบรนด์ที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
บริษัทมุ่งเน้นเป็นตัวกลางนำความรู้ในด้านต่าง ๆ มาต่อยอดเพื่อส่งเสริม สนับสนุน สร้างโอกาสให้คนไทยได้แสดงศักยภาพและความสามารถ เช่น โครงการ “ต้นแบบเครือข่ายกรุงเทพฯ สีเขียว” ที่ร่วมมือกับสำนักงานสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นที่การยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับสังคมผ่านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและใช้หลัก 3R ในการจัดการกับพื้นที่ภายในอาคารต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของบริษัท
“สยามพิวรรธน์” แค่ศูนย์การค้ามันเล็กไป ต้องเล่นใหญ่เป็นโครงการเมือง!
ICONSIAM โมเดล จะเล่นเล็กไม่ได้อีกต่อไป
หลังจากที่เปิดตัวบิ๊กโปรเจ็คต์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่างผ( ICONSIAM) ไปเมื่อปลายปีก่อน ดูเหมือน “สยามพิวรรธน์” เจ้าของโครงการดูจะติดใจกับการพัฒนาโครงการใหญ่เข้าแล้ว เท่ากับว่าตอนนี้สยามพิวรรธน์มี 4 โครงการในเครือ ได้แก่ สยามพารากอน, สยามดิสคัฟเวอรี่, สยามเซ็นเตอร์ และ ICONSIAM
ICONSIAM เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาในตลาดค้าปลีกในไทยช่วงปีที่ผ่านมาได้อย่างดี ค้าปลีกยุคใหม่ไม่ได้มีแค่ศูนย์การค้า แต่ต้องเป็นโครงการมิกซ์ยูสรวมที่อยู่อาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน
ซึ่งสยามพิวรรธน์เรียกโมเดลนี้ว่าเป็น “โครงการเมือง” ที่ไปสร้างศูนย์การค้าพร้อมกับสร้างเมืองที่นั่น ทำให้แผนในการลงทุนต่อไปของสยามพิวรรธน์จะไม่ใช่แค่สร้างศูนย์การค้าให้คนมาเช่าพื้นที่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่จะสร้างเป็นโครงการใหญ่ที่เป็นโครงการเมืองทั้งหมด ไม่เน้นปริมาณ แต่เน้นขนาด
โดยในปีนี้ สยามพิวรรธน์มีแผนที่จะขยายไลน์ธุรกิจค้าปลีกให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งการขยายธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบแฟรนไชส์ การร่วมทุนกับบริษัทค้าปลีกชั้นนำจากต่างประเทศเพื่อเปิดตัวแบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์อีก 2 แบรนด์
แผน 5 ปี รายได้ต้องโตหนึ่งเท่าตัว
ปัจจุบันสยามพิวรรธน์มีทรัพย์สินรวม 45,000 ล้านบาท มีรายได้ในปี 2561 รวม 25,500 ล้านบาท เติบโต 23% ตั้งเป้าปีนี้เติบโต 12-15% แต่ในส่วนของ ICONSIAM ตั้งเป้าโต 42%
ชฎาทิพมองว่าหลังจากปีนี้ที่ ICONSIAM ได้เปิดตัวให้บริการเต็มปี รับรู้รายได้ได้เต็มปี ทำให้มีรายได้ที่เติบโตขึ้น ใน 5 ปีตั้งเป้ารายได้ต้องเติบโต 1-1.5 เท่า
สำหรับทราฟิกการใช้บริการของ 3 ศูนย์การค้า สยามพารากอน, สยามดิฟคัฟเวอรี่ และสยามเซ็นเตอร์รวม200,000-250,000 คน/วัน ส่วนใหญ่เป็นคนไทย 65-70%
ส่วน ICONSIAM มีทราฟิกเป็นไปตามเป้าหมายที่ 120,000-150,000 คน/วัน 80% เป็นคนไทย
สรุป
การที่สยามพิวรรธน์เบนเข็มมาทำแต่โครการใหญ่ๆ เพราะมองเห็นโมเดลความสำเร็จจากการเปิดตัว ICONSIAM ว่าได้รับการตอบรับค่อนข้างดี แต่ก็ต้องดูต่อไปว่าคนไทยจะตอบรับกับโครงการแบบนี้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งเน้นทำเลในกรุงเทพที่มีศูนย์การค้าล้นเมืองแล้ว สยามพิวรรธน์จะต้องใช้กลยุทธ์อะไรในการสร้างความแตกต่าง
ธุระกิจค้าปลีก
- บริษัท ดิสคัฟเวอรี่ รีเทล จำกัด - จัดจำหน่ายสินค้าในโซนโอเพนสเปซ (ดิสคัฟเวอรีแล็บ) ภายใน สยามดิสคัฟเวอรี
- บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มเดอะมอลล์ เพื่อดำเนินการ “พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์” ในสยามพารากอน
- บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท สยาม สเปเชีลลิตี้ จำกัด) - จัดจำหน่ายสินค้าในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
- ลอฟท์
- เดอะ วันเดอร์ รูม
- เดอะ ซีเล็คเต็ด
- จิน แอนด์ มิลค์
- ออฟเจกต์ ออฟ ดีไซร์ สโตร์ (โอดีเอส)
- แคช
- เพอร์-สูท
- อาแลง
สวัสดิการ
- - โบนัส และปรับเงินเดือนประจำปี
- - ประกันสังคม
- - ประกันสุขภาพ
- - กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- - ตรวจสุขภาพประจำปี กับโรงพยาบาลชั้นนำ
- - โครงการสวัสดิการสะสมทรัพย์เพื่อเกษียณอายุ แบบสมัครใจ กับ AIA
- - โครงการประกันอุบัติเหตุ
- - ชุดฟอร์มพนักงาน 3 ชุด/ปี (เฉพาะบางตำแหน่งงาน)
- - คูปองอาหาร สำหรับวันทำงานพิเศษ
- - โครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย
- - เงินกู้ยืมต่างๆ
- - เงินช่วยเหลือกรณีพนักงาน และครอบครัวพนักงานเสียชีวิต
- - วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี
- - บ้านพักสวัสดิการ(เฉพาะบางตำแหน่งงาน)
- - ที่จอดรถฟรี สำหรับพนักงาน(ระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป)
- - บัตรส่วนลดในการซื้อสินค้า สำหรับพนักงาน 20%(เฉพาะบางตำแหน่งงาน)
- รางวัลอายุยาวนาน และรางวัลเบี้ยขยัน
ที่มาของข้อมูล https://brandinside.asia/siam-piwat-road-map-big-project/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น