วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

                  บริษัทที่คนหยากเข้าทำงานด้วยมากที่สุดในไทย      บริษัท   | Dtac : ดีแทค


สวัสดีครับนำทุกท่าน เข้าสู้บริษัทที่ทุกคนชอบมากที่นั่นเป็นบริษัทที่มีรายได้สูง      เหมาะสำหรับคนที่ิ

มองหาบริษัทที่ดีเเละมีคุณภาพ  สำหรับใครที่ไม่รู้จับเราจะพาทุกคนไปรู้จักกับบริษัททั้ง   50 บริษัท

ที่มาตรฐานเเละคุณภาพ   
                                   


                                         


อุตสาหกรรม : การสื่อสารและโทรคมนาคม
ดีแทค เป็นบริษัทที่ดำเนินงานด้านโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ที่มีภาพลักษณ์ของความทันสมัย มีเป้าหมายที่จะเป็น Digital Brand อันดับหนึ่งของประเทศไทย ออฟฟิศของดีแทคยังได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ มีเครื่องมือทันสมัยที่ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น Workplace by Facebook ซึ่งทำให้พนักงานดีแทคสามารถสื่อสารกับได้อย่างรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มของ Facebook หรือแอพพลิเคชั่น PLearn ที่มีข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่าง ๆ พร้อมทั้งมีนิตยสารและหนังสือออนไลน์ให้เลือกอ่านอีกมากมาย

 Dtac โครงสร้างองค์กร ดีแทค





  ประวัติความเป็นมา


บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Total Access Communication Public Company Limited; ชื่อย่อ: TAC) หรือในชื่อการค้าว่า ดีแทค (dtac) เป็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย เดิมเป็นบริษัทในเครือยูคอมปัจจุบันถือหุ้นใหญ่โดย บีซีทีเอ็น โฮลดิง
ปัจจุบัน เมื่ออิงตามยอดผู้ใช้งาน ดีแทคเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากทรูมูฟ เอช[2][3] โดยให้บริการในช่วงความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (เดิมคือการสื่อสารแห่งประเทศไทย) ภายใต้ระยะเวลา 27 ปีตามสัญญาสัมปทาน พร้อมทั้งให้บริการ 3 จี ในช่วงความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีบริการ 3 จี ในช่วงความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ (2.1 กิกะเฮิร์ตซ์) ซึ่ง กสทช.ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ให้แก่บริษัท ดีแทคไตรเน็ต จำกัด ภายใต้ชื่อสินค้า ดีแทคไตรเน็ต มียอดผู้ใช้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2549 อยู่ที่ 12,225,498 คน โดยแบ่งเป็นระบบสมาชิกรายเดือนประมาณ 2 ล้านคน และระบบเติมเงินประมาณ 10 ล้าน





                                 
จุดเริ่มต้นของความสำเร็จจากบ้านสวนเมล่อนสู่จุดหมายการบินไทย ทำให้ 5G ยิ่งมีความสำคัญ ด้วยอุปกรณ์นับพันล้านชิ้นที่จะถูกเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์ ทำให้โครงข่าย 4G ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างพอเพียง ในขณะที่สถานีฐาน4G แต่ละแห่งจะเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารได้ร่วมหมื่น แต่ 5G จะเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารนับล้านชิ้นในเวลาเดียวกัน สนามบินในวันพรุ่งนี้จะไม่เหมือนเดิม กระเป๋าเดินทางทุกใบและกล่องขนส่งสินค้าทางอากาศจะได้สามารถระบุตำแหน่งติดตามได้จากอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ภายในอาคารสนามบินและเครื่องบิน แน่นอนว่า 5G ไม่เพียงสามารถรองรับอุปกรณ์นับล้านๆ ชิ้นเหล่านี้ แต่ยังใช้พลังงานต่ำมาก ทำให้แบตเตอรี่ในอุปกรณ์กล่องสินค้าสามารถมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี
การระบุตำแหน่งสินค้าอาหารไม่ใช่แค่บริหารต้นทุนหรือประสิทธิภาพ ด้วยโซลูชันส์ IoT ที่เพิ่มขึ้น ผู้บริโภคสามารถที่จะรู้ได้ว่าอาหารบนจานนั้นมาจากที่ไหน ตัวอย่างที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น โซลูชั่นส์ระบุตำแหน่งแบบครบวงจรของ 5G จะช่วยออกแบบให้การบินไทยนำเสนอผ่านแอปพลิเคชันให้ผู้โดยสารได้รู้ว่าเมนูเมล่อนที่ถูกเสิร์ฟด้วยรสชาติความสดอร่อยได้ถูกส่งมาจากจังหวัดฉะเชิงเทราตอนตี 5 และแน่นอนว่าถ้าอยากรู้ต่อไปยังคลิกดูข้อมูลที่ถ่ายทอดจากโดรนที่บินเหนือแหล่งเพาะปลูกได้ว่ามาจากที่ไหน
นี่คือการเดินทางจากธุรกิจสู่ธุรกิจและส่งต่อยังผู้บริโภคซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของ 5G นี่คือเหตุผลที่ดีแทคมองว่าต้องมีแผนพัฒนาสู่ 5G ทั้งสองแกนด้วยกัน ทั้งแผนสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมที่จะใช้ประโยชน์สูงสุดจาก 5G และแผนดำเนินงานทดสอบเทคโนโลยี 5G
ในส่วนของเทคโนโลยี ดีแทคเป็นรายแรกที่การนำเทคโนโลยีโครงข่ายระบบชุมสายเสมือน (Visualized Core Network: VCN) มาดำเนินงาน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทันสมัยที่สุด และรองรับการใช้งาน 5G พร้อมอัปเกรดเทคโนโลยีสู่5G ได้ทันที ดีแทคยังเป็นรายแรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยี Massive MIMO 64T 64R มาให้บริการเชิงพาณิชย์ แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ทดสอบกับอุปกรณ์ แต่ยังรองรับสมาร์ทโฟนที่ใช้งานได้จริงอีกด้วย ด้วยช่องสัญญาณรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงของ Massive MIMO 64T 64R ที่รับส่งได้มากที่สุดในขณะนี้ จะทำให้สถานีฐานที่ติดตั้งจะรองรับการใช้เทคโนโลยี 5G เช่น Beamforming ที่สามารถออกแบบรับ-ส่งชุดสัญญาณหลากหลายทิศทางในเวลาเดียวกัน เพื่อรองรับพื้นที่ใช้งานได้หลายรูปแบบจากเสาต้นเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่มุมตึก หรือรองรับการใช้งานแบบเคลื่อนไหว ดีแทคจึงมีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งสำหรับเทคโนโลยี 5G ซึ่งสามารถทำการทดสอบใช้งาน 5G เมื่อได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. และเพียงเพิ่มอุปกรณ์บางอย่างติดตั้งให้กับโครงข่ายเท่านั้น

การเข้าสู่ศักราชของ 5G จะต้องทำความเข้าใจในศักยภาพการสื่อสารดิจิทัลที่ต่างจากเดิม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ซึ่งแตกต่างจากการมาของเทคโนโลยีการสื่อสาร 3G และ 4G การมาถึงของ 5G จะไม่ใช่แค่กรณีของผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์โครงข่ายของตน หรือผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารจะเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงการมีส่วนร่วมทั้งอุตสาหกรรมสู่การเชื่อมต่อธุรกิจ ไม่เพียงแต่กับผู้บริโภค แต่ยังรวมไปถึงธุรกิจอื่นด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนสู่กลยุทธ์ 5G ของไทย
ดีแทคได้ชี้วัดให้เห็นว่าการทำเกษตรกรรมเป็นความสำคัญหลักที่ 5G สามารถปลดล็อกมูลค่ามหาศาลให้แก่ประเทศไทยได้ กรณีนางสาวปคุณา บุญก่อเกื้อ หรือแก้ว เกษตรกรสาวเจ้าของบ้านสวนเมล่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี Internet of Things เพื่อการทำเกษตรที่มีความแม่นยำที่เราพัฒนาขึ้น ทำให้เธอมีรายได้เพิ่มจากการทำเกษตรแล้วมากกว่าร้อยละ 20 วันนี้เมล่อนจากสวนของคุณแก้วเป็นที่ต้องการของตลาดสูง เช่น การบินไทยได้ติดต่อนำเมล่อนสดที่มาพร้อมกับรสชาติอร่อยไปเสิร์ฟให้กับผู้โดยสารในเที่ยวบิน และในขณะที่สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว แต่ 5G จะต้องทำให้คุณแก้วได้ทำผลิตผลจากเกษตรกรรมและมีรายได้ดียิ่งขึ้น

เเหล่งข้อมูล  https://brandinside.asia/dtac-create-to-5g/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

                         บริษัทที่คนหยากเข้าทำงานมากที่สุดในไทย  บริษัท       RS : อาร์เอส สวัสดีครับนำทุกท่าน เข้าสู้บริษัทที่ทุกคนชอบมา...